วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 15 วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

สอบสอน หน่วยข้าว เรื่องการทำข้าวจี่่ 

ทดสอบการใช้เตาปิ้งก่อนสอน

เตรียมพูดคำคล้องจองให้เด็กๆ ฟัง

พูดข้อตกลงก่อนพูดคำคล้องจี่
ครูชี้ตามที่พูด

พูดคำคล้องจองให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ 

ครูและเด็กพูดคำคล้องจองพร้อมกัน

เริ่มนำเข้าสู่การทำ Cooking  ข้าวจี่

ครูแนะนำอุปกรณ์การทำข้าวจี่ให้เด็กรู้จัก


ครูแนะนำส่วนผสมการทำข้าวจี     
ผู้สอนแนะนำการสอนเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 14 วันที่ 6 มีนาคม  พ.ศ. 2555


         ในวันนี้อาจารย์นัดสอบสอนในวันอาทิตย์ ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 น. อาจารย์ได้บอกเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้

1. อาจารย์จะดูแผนการสอนว่าตรงตามมาตรฐานหรือเปล่า
2. การสอน
3. การบูณาาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4. สื่อที่ใช้ในการสอน
5.เทคนิคการสอน 

6. การประเมิน


          อาจารย์ได้ตรวจการเขียนคำคล้องจองและเพลงของเพื่อนเป็นบางคนที่นำมาวันนี้ และให้คำแนะนำ กับเพื่อนในห้องและเป็นตัวอย่างให้เพื่อนๆ จะได้ปรับปรุงและแก้ไขให้ดีขึ้นอาจารย์นำแผนการสอนของโรงเรียนเกษมพิทยามาให้ดูเป็นตัวอย่าง เป็นแผนการสอนแบบโปรเจ็ท ซึ่งอาจารย์ให้ความหมายว่า คณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัวๆและเป็นสากล คือมี บวก ลบ คูณ หาร เหมือนกัน และการตั้งคำถามของผู้สอนควรตั้งคำถามที่ถามแล้วเด็กได้ใช้ประสบการณ์เดิม มาเชื่อมโยงกับประสบการณืปัจจุบันเป็นสิ่งใหม่

บรรยากาศในห้องเรียน
          ในวันนี้อากาศช่วงแรกร้อนนิดหน่อย  แต่เมื่อนั่งเรียนได้ซักพักความหนาวก้เริ่มมาเยือนเหมือนที่ผ่านๆมา แต่วันนี้อาจารยืบอกว่าจะปล่อยเร็วหน่อย เนื่องจากมีเพื่อนเกิดอุบัติเหตุ อาจารย์เกิดความเป็นห่วงเลยปล่อยก่อนครึ่งชั่วโมง
ครั้งที่ 13 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

          วันนี้อาจารย์เริ่มสอนเรื่อง ..........
การวัด คือ การหาค่า ปริมาณ อาจเป็นน้ำหนัก,ปริมาท,เวลา 
การเปรียบเทียบ คือ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งของ 2 กลุ่ม เช่น เปรียบจำนวนของสิ่งของ
เรขาคณิต คือ ไม่ใช่แค่เรื่องรูปร่างรูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่จะบอกเรื่องของตำแหน่งทิศทาง เช่น ข้างๆ ริมๆ

การจับคู่ เป็นคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
การจำแนก การจัดหมวดหมู่ ต้องให้เด็กสร้างสรรค์งานให้มี 3 มิติ เช่นการให้เด็กทำงานประดิษฐ์ 
พีชคณิต    คือ รูปแบบและความสัมพันธ์ เช่น ความสัมพันธ์ 2 แกน
เช่น (มีเค้ก 1 ชิ้น  จะแบ่งให้เพื่อน 3 คน คนละเท่าๆกัน เด็กๆ มีวิธีทำอย่างไรบ้างค่ะ)  อาจารย์ให้นักศึกษาคิดว่าตัวเองเป็นเด็กและให้หาวิธีการคิดมา เพื่อนๆช่วยกันคิดได้ทั้งหมด 3 วิธีคือ
1. แบ่งเป็น 3 ส่วนรูป Y 
2. แบ่งเป็น 4 ส่วน และส่วนที่ 4ให้แบ่งเป็น3 ส่วนอีกครั้ง
3. แบ่งเป็น 4 ส่วน และตัดเป็น 3 ชั้น จะได้เค้ก 12 ชิ้น 
         จากนั้นอาจารย์ให้เลือกวิธีที่ดีที่สุดและให้เหตุผลในการตัดสินใจ วิธีที่ดีที่คือ วิธีที่ 2 เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้หน้าเค้กเหมือนกัน มีโอกาสในการแบ่งเท่ากันมากที่สุด
      ส่วนวิธีที่ 1 นั้นเด็กอาจจะแบ่งไม่เท่ากัน เพราะเป็น 3 ส่วนก็จริง แต่รูป Y ปากนั้นจะแคบหรือกว้างไม่เท่ากัน 
      ส่วนวิธีที่ 3 เด็กอาจจะไม่พอใจเพราะได้หน้าเค้กไม่เหมือนกัน
* การตัดสินใจเด็กจะใช้ภาษา และสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย *

บรรยากาศในห้องเรียน
          วันนี้อากาศร้อนและไม่ค่อยสะดวกในการเรียนมากนัก เนื่องจากเครื่องโปรเจ็กเตอร์เสียและอาจารย์ให้พี่ที่รับผิดชอบฝ่ายโสตมาซ่อม ก็มีอะไรแปลกดีนั่งเรียนไปด้วย ดูพี่ซ่อมโปรเจ็กเตอร์ไปด้วย แต่อาจารย์ก็สอนด้วยความเต็มใจถึงเมื่อว่าสิ่งแวดล้อมจะไม่ค่อยเป็นใจ  


หมายเหตุ

       อาจารย์นัดชดเชยนอกรอบ เพื่อตรวจแผน   ตั้งแต่เวลา บ่ายโมงเป็นต้นไปวันศุกร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555


ครั้งที่ 12 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มคิดสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน กลุ่มของดิฉันสอน หน่วย ข้าว
มีอุปกรณ์ ดังนี้


1. ฟิวเจอร์บอร์ด 2 แผ่น
2. สติ๊กเกอร์ใส 2 แผ่น
3. กระดาษบูส 5 แผ่น
4. ปากกาไวส์บอร์ด 
5. เตาปิ้ง
          อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มดุแผ่นของตัวเองว่าต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนไหนบ้าง


บรรยากาศในห้องเรียน
 วันนี้อากาศที่ห้องหนาวมากจนดิฉันต้องเอาผ้าพันคอมาห่มเลย รวมถึงเพื่อนในห้องด้วยหนาวกันจนสั่น


ครั้งที่ 11 วันที่14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
          วันนี้อาจารย์พูดเรื่องกิจกรรมกีฬาสีที่ผ่านมา เพราะมีนักศึกษาที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม และอาจารย์ให้แก้ไขบล็อกของตัวเองให้เสร็จทุกคน จากนั้นอาจารย์ตรวจแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มก็มีข้อบกพร่อง เพราะแต่ละกลุ่มเขียนแต่ของตนเองโดยไม่สนใจเพื่อนในกลุ่ม  จึงทำให้แผนการสอนไม่ต่อเนื่องกัน
         หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้เข้ากลุ่มตามหน่วยที่เราเขียนแผนและอาจารย์ดูแผนตามกลุ่มและอธิบายรายบุคคล และชี้แนะต่างๆอาจารย์จะเน้นให้เขียนเป็น map ก่อนเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายการที่เราเขียน map เพื่อให้เห็นเนื้อเรื่องที่เราจะสอน เวลาเราจะเอาเนื้อหาไปสอนต้องให้สอดคล้องกับพัฒนาการและวิธีการเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการ เราจึงเลือกนิทาน,เพลง,คำคล้องจองเพื่อให้สอดคล้องและเพื่อให้เด็กได้ตามพัฒนาการทั้ง4 ด้าน โดยผ่านกิกรรม


          หัวใจหลักของกิจกรรมเสริมประสบการณ์ คือ เรื่องของสติปัญญาเป็นเนื้อหาในการเรียนรู้และมีสาระที่เสริมประสบการณ์อาจารย์ยกตัวอย่าง  หน่วยฝน  ของเพื่อนๆให้ดู เริ่มจาก
1.วัตถุประสงค์
     -เพื่อให้เด็กอธิบายการเกิดฝน
2. ประสบการณ์สำคัญ
     -เด็กอธิบายการเกิดฝน
3. ขั้นนำ
     -นำด้วยเพลง,คำคล้องจอง,นิทาน
4. ขั้นสอน
     -ครูสนทนากับเด็กเพื่อเชื่อมโยงเนื้อหา(ถ้าเป็นเพลงหรือคำคล้องจองครูพูดให้เด็กฟังอย่างชัดเจนก่อน แล้วจึงให้เด็กพูดตาม แล้วเราค่อยใส่ทำนอง)
     - ถามเด็กๆว่าเด็กๆค่ะฝนเกิดจากไหนค่ะ
     - นำภาพมาให้เด็กดู
5. ขั้นสรุป
     -นำภาพมาให้เด็กเรียงลำดับการเกิดฝน 



บรรยากาศในห้องเรียน


วันนี้อากาศไม่หนาวมาก กำลังดี และอาจารย์สอนดี อธิบายการเขียนแผนอย่างละเอียดทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
ครั้งที่ 10 วันที 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 

           วันนี้อาจารย์เริ่มต้นด้วยการพูดถึงกีฬาสีในวันพรุ่งนี้อาจารย์และนักศึกษาปรึกษากันเกี่ยวกับอาหารว่านักศึกษาต้องการอาหารในลักษณะไหน หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้เข้าสู่บทเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาส่งแผนและช่วยกันวิเคราะห์ อาจารย์ได้บอกถึงข้อบกพร่องและแนะนำ อาจารย์ยกตัวอย่างของนางสาวอรอุมาขึ้นมา เรื่อง ส่วนประกอบของดอกไม้
           จากนั้นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆ 
คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ ศิลปะ อาจจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องของรูปทรง ขนาด การนับ และอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมว่า ตามหลักการเรียนรู้มาตรฐานคณิตศาสตร์มีกี่ข้อ มี 6 ข้อ ซึ่งการจัดจะต้องมีเครื่องมือดังนี้ 
        การหาปริมาตร   เครื่องมือ คือ บิกเกอร์ เงิน แต่เงินสำหรับเด็กในปัจจุบันเด็กมีความคุ้นเคยเงินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
        เวลา   เครื่องไม่เป็นทางการ เช่น พระอาทิตย์ ไก่ขัน เป็นต้น  เครื่องมือกึ่งทางการ คือเอาไม้มาตั้งแล้วสังเกตว่าพระอาทิตย์อยู่ตรงไหน แล้วจึงค่อยเปรียบเทียบว่าอยู่ตรงนี้จะตรงกับเวลานี้ ถ้าเป็นทางการ คือ นาฬิกา
        การวัด  ถ้าอยู่ในศิลปะอาจจะยากหน่อย และอาจารย์ให้ย้อนกลับไปดูในบล็อกศิลปะว่าที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเอง
  คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวมี 2 แบบ คือ
          1. แบบเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
          2. แบบเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ 

วัตถุประสงค์ในวิชาการเคลื่อนไหวมีดังนี้

 1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ ทักษะการฟัง
 2. การเป็นผู้นำ ผู้ตาม 
 3. บรรยายสร้างเรื่องในวันนี้
 4. ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
 5. ความจำ
 6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง มี 2 แบบ
 6.1 เคลื่อนไหวพื้นฐาน 
 6.2 เคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเนื้อหาคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมกลางแจ้ง อาจจะให้เด็กเล่นเกมที่สัมพันธ์กับเนื้อหานั้นๆ ขึ้นอยู๋กับครูผู้สอนว่าจะให้เด็กเล่นอะไรคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมเกมการศึกษา เช่น ใช้เกมโดมิโน่ จิกซอร์ จับคู่ อาจจจะเป็น รูปภาพกับตัวเลข,ภาพเหมือน,ภาพกับเงา,พื้นฐานการบวก,ความสัมพันธ์ 2 แกน ฯลฯ และอาจารย์ให้ถ่ายเอกสารเกมการศึกษา หรือภาพ เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการสอนเมื่อเราเป็นครูได้งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ 

บรรยากาศในห้องวันนี้ 
           บรรยากาศดี ไม่ง่วงนอน ความรู้สึกในการเรียนของดิฉันในวันนี้รู้สึกว่ามีความเข้าใจในเรื่องที่อาจารย์สอน สามารถเชื่อมโยงคณิตศาสตร์เข้ากับวิชาอื่นได้เป็นอย่างดี  และอาจารย์สามารถให้คำแนะนำ การแก้ไขในการเขียนแผนได้อย่างชัดเจน
ครั้งที่ 9 วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

          วันนี้อาจารย์ให้ส่งงานที่พิมพ์ ชื่อตัวเอง วัน สี และเลขที่  แต่เพื่อนส่วนใหญ่ยังทำไม่เสร็จ อาจารย์ให้ส่งวันหลังแทน อาจารย์จึงข้ามไปทบทวนงานเรื่องกิจกรรมการสอน แต่เพื่อนบางคนทำมา บางคนก็ไม่ทำมา  จากนั้นอาจารย์ถามเรื่องแผน และบอกว่าหน่วยต่างๆนั้นมาจากสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้มาจากหลักสูตร ซึ่งเป็นที่มาของการวางแผน สาเหตุที่เราจัดประสบการณ์ คือ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้     อาจารย์จึงยกเหตุการณ์ขึ้นมาให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องคณิตศาสตร์ โดยอาจารย์ถามว่า ใครเข้าห้องมาก่อนเป็นคนแรก เหตุผลที่อาจารย์ถามเพื่อให้เด็กรู้ลำดับทางคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์สามารถบูรนาการให้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้    และอาจารย์พูดถึงการเขียน  Mind Mapping  การเขียนนั้นต้องใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เพื่อเด็กได้คิดต่อได้ และทำให้เด็กกล้าแสดงออกด้วย  เช่น  เราจะพบได้ที่ไหนบ้าง, ถ้าเป็นหนู หนูอยากให้เป็นอะไร    อาจารย์ถามต่อว่า  หน่วยที่ครูเตรียมไว้ทำไม่จึงต้องเอาตัวเด็กเป็นตัวกลาง ก็เพราะตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเรา ตามหลักสูตรที่มี 4 สาระที่ควรเรียนรู้ คือ ตัวเรา, บุคคลและสถานที่, ธรรมชาติรอบตัว, สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว    

          หลักสูตร เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้

           การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน 
ประสบการณ์สำคัญหลักๆมี 4 ด้าน คือ ร่างกาย,อารมณ์ ,สังคม, สติปัญญาความคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดแบนี้มีความสำคัญกับคณิตศาสตร์มาก เพราะเป็นการคิดแบบคิดเชิงเหตุผล
          ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ฝึกให้เด็กคิดเชิงเหตุผล,คิดเชิงวิเคราะห์,คิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์
          สาระ คือ เป็นตัวกำหนดหน่วยการสอนและนำไปสู่การบูรนาการ การบูรนาการก็จะนำไปสู่มาตรฐาน
มาตรฐาน คือ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนด
          การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
              มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
              มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางคณิตศาสตร์
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกณฑ์มาตรฐานดังนี้
            1) จำนวนและการดำเนินการ
            2) การวัด
            3) เรขาคณิต
            4) พิชคณิต
            5) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
            6) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
 เรื่อง จำนวน
1) การใช้จำนวนและบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
     - อายุ 3 ปี นับของได้ไม่เกิน 5 สิ่ง
     - อายุ4 ปี นับของได้ไม่เกิน 10 สิ่ง

2) อ่านเลขฮินดูอารบิก
     - อายุ 5 ปี อ่านเลขฮินดูอารบิกได้ เด็กระบุเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้ และเขียนเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้

เรื่อง การเปรียบเทียบ     -อายุ 3 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่
     - อายุ 4 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า
     - อายุ 5 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า และเรียงลำดับ จากน้อยกว่าไปหามากกว่า

เรื่อง การเรียงลำดับ
     - อายุ 3 ปี ไม่สามารถเรียงลำดับได้
     - อายุ 4 ปี เรียงลำดับ 3 สิ่งได้
     - อายุ 5 ปี เรียงลำดับ 3 ได้ แต่ไม่เกิน 5 สิ่ง

เรื่อง การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม 
1) การรวมสิ่งต่างๆ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง
     - อายุ 3 ปี รวมของ 2 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
     - อายุ 4 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 5 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
     - อายุ 5 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น

บรรยากาศในห้องวันนี้
          อากาศไม่หนาวมากนัก   แต่ดูเหมือนอาจารย์จะงอลนักศึกษา เนื่องจากอาจารย์สั่งงานแล้วนักศึกษาทำยังไม่เสร็จ และมีทำในห้องด้วยทำให้การสอนของอาจารย์ที่ตั้งใจไว้ไม่ค่อยเป็นผลในเรื่องนี้เท่าไร อาจารย์เลยเปลี่ยนเรื่องสอน